วิธีการดับเพลิงขั้นต้น

วิธีการดับเพลิงขั้นต้น

    พนักงานของสถานประกอบการซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ต้องผ่านการอบรมตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเรื่อง
“การป้องกันและระงับอัคคีภัยเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง” ข้อ 19 (3) จัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนด หรือยอมรับไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบการ

วัตถุประสงค์
• เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากอัคคีภัย
• เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยต่อพนักงานกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้
• เพื่อลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดเหตุอัคคีภัย
• เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อพนักงานในสถานประกอบการ

ภาคทฤษฏี
• ทฤษฏีการเกิดเพลิงไหม้
• การป้องกันแหล่งกำเนิดของการติดไฟ
• การแบ่งประเภทของเพลิง
• วิธีการดับเพลิงประเภทต่างๆ
• ชนิดของเครื่องดับเพลิง
• อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลป้องกันในการดับเพลิง
• จิตวิทยาเมื่อเกิดเพลิงไหม้
• แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย
• การจัดระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยและการประยุกต์ใช้ระบบและอุปกรณ์ทีมีในสถานประกอบการ
 
ภาคปฏิบัติ
• ฝึกการใช้เครื่องดับเพลิงประเภท เอ บี และซี
• ฝึกการดับเพลิงที่เกิดจากก๊าซ น้ำมัน และเชื้อเพลิงประเภทเอ
• ฝึกการดับเพลิงประเภทต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานประกอบการ
• ฝึกการใช้สัญญาณมือ เปิด-ปิด น้ำดับเพลิง
• ฝึกการใช้สายส่งน้ำดับเพลิงและหัวฉีด
• สาธิตการดับเพลิงประเภทดี โดยวิทยากร
 
ระยะเวลาการฝึกอบรม

• ภาคทฤษฏี 09.00-12.00
• ภาคปฏิบัติ 13.00-16.30
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

• ในสถานประกอบการ 1 วัน 09.00-16.30 น. จำนวนไม่เกิน 60 ท่าน/1ห้องอบรม
   ณ ศูนย์ฝึกแอนตี้ไฟร์เทรนนิ่งเซ็นเตอร์ 1 วัน 09.00-16.30 น. จำนวนไม่เกิน 30 ท่าน